ยารักษา “โรคสมาธิสั้น” มีผลต่อความสูงหรือไม่?
การใช้ยารักษาโรคสมาธิสั้นส่งผลต่อการเจริญเติบโต และเพิ่มความสูงของเด็กหรือไม่? โรคสมาธิสั้นหรือ attention-deficit hyperactivity disorder (ADHD) เป็นโรคที่พบได้บ่อยในเด็ก โดยในประเทศไทยพบประมาณร้อยละ 8.1 ของเด็กวัยเรียน และพบได้บ่อยในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง ทั้งนี้พบว่าสมองส่วนที่มีหน้าที่ควบคุมเกี่ยวกับสมาธิ และความยับยั้งชั่งใจของเด็กสมาธิสั้นมักจะมีขนาดเล็กกว่าปกติหรือทำงานได้น้อย อาการของโรคสมาธิสั้น ยาที่ใช้ในการรักษาโรคสมาธิสั้นในเด็ก แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ อาการข้างเคียงจากการใช้ยา Methylphenidateอาการข้างเคียงที่พบบ่อยได้แก่ หัวใจเต้นเร็ว ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ วิตกกังวล น้ำหนักลด ปวดท้อง ผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงน้ำหนัก และความสูงของผู้ป่วยโรคสมาธิสั้นอายุ 6-18 ปี ที่รักษาด้วยยา Methylphenidateผู้ป่วยเด็กโรคสมาธิสั้นอายุ 6 – 18 ปี ที่ได้รับประทานยา methylphenidate ชนิดออกฤทธิ์สั้นมีการเจริญเติบโตด้านน้ำหนักลดลงเมื่อเทียบกับก่อนรับประทานยาในช่วงแรก ของการรับประทานยา ในขณะที่ส่วนสูงของผู้ป่วยได้รับผลกระทบเล็กน้อยในช่วงครึ่งปีแรกและไม่พบความแตกต่างเมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้นในการใช้ยาแพทย์จึงต้องทำการติดตามอาการไม่พึงประสงค์ รวมถึงติดตามความสูงและน้ำหนักเป็นระยะ อย่างไรก็ตามจากการศึกษาพบว่าการเป็นโรคสมาธิสั้น หรือยาที่ใช้ในการรักษาสมาธิสั้น ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อความสูงสุดท้ายตอนเป็นผู้ใหญ่ กล่าวคือไม่ได้ทำให้เตี้ยกว่าปกติ Growth&Grow Medical Center คลินิกเพิ่มความสูงและปรับบุคลิกภาพ โดยดูแลเรื่องความสูง และปรับบุคลิกภาพ […]